เรื่องตัวอักษร [letters] กับงานนำเสนอ
การเลือกแบบอักษร หรือ font ก็มีเทคนิคเหมือนกัน แต่เจ๊ไว้แชร์ตอนหน้าแล้วกันเนอะเพราะเรื่องมันยาว ตอนนี้เรามาพูดถึงการเลือกขนาดตัวอักษร ว่าถ้าเลือกผิด ใหญ่มาก หรือ เล็กมาก, ชิด หรือ ห่าง มีผลต่อการออกแบบงานนำเสนอของเราอย่างไร
ถ้าคุณคิดจะเพิ่ม หรือ ขยายขนาดตัวอักษร ต้องจำไว้เสมอว่า ระยะห่างระหว่างบรรทัดจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งช่องว่างระหว่างแถวเราจะรู้จักกันดี คือ "ระยะบรรทัด" [leading] ซึ่งหากมีระยะห่างมากหรือน้อยเกินไป อาจทำให้มุมมองของผู้ฟัง รู้สึกว่า อ่านยากและสร้างบรรยากาศน่าเบื่อในการนำเสนอพ่วงเข้าไปด้วย
ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระยะบรรทัดจะถูกเซ็ตเป็นค่ามาตรฐานคิดเป็นประมาณ 20% ของขนาดตัวอักษรที่เราเลือกใช้ ประมาณว่า ถ้าขนาดตัวอักษรที่คุณเลือกใช้ ขนาด 20pt, ดังนั้น ระยะบรรทัดจะประมาณ 14pt-15pt ซึ่งเป็นขนาดกำลัง "สวยพอดีๆ" ถ้าเป็นงานพิมพ์เอกสารทั่วไป แต่ในงานนำเสนอ ถ้าคุณขยายหรือเพิ่มขนาดตัวอักษรมากเท่าไร ระยะห่างของบรรทัดก็จะเพิ่มเป็นอีกเท่าตัว ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างกัน จะได้ร้อง "อ๋อ...มันเป็นอย่างนี้นี่เองเหรอเจ๊..."
แบบที่ 1 : ระยะห่างของบรรทัดในสไลด์นี้ บ้านเจ๊เรียกว่า "เว่อร์" มากทีเดียว "ยัติภังค์" หรือ "bullet" ห่างจากหัวเรื่องเหมือนอยู่คนละแคว้น ซึ่งลักษณะแบบนี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำใน powerpoint เพราะค่าถูกเซ็ตอัติโนมัติ ทำให้สไลด์นี้ จะมีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ โดย 6 องค์ประกอบ คือตัวอักษรแต่ละบรรทัด และ อีก 1 องค์ประกอบก็คือรูปภาพ
แบบที่ 2: ระยะห่างของสไลด์นี้ก็ชิดติดกัน เบียดกัน แทบจะเกยกันจนจะได้เสียกันอยู่แล้ว ซึ่งทำให้อ่านยาก...ม๊าก มาก โดยเฉพาะผู้ฟังที่นั่งอยู่หลังห้อง
แบบที่ 3: ระยะห่างของสไลด์นี้ดูโอเค แต่ก็ไม่ถึงกับพอดีมาก แต่ก็ทำให้เห็นเด่นชัด แยกแยะได้ว่า มีหัวเรื่อง ตามด้วย เนื้อหา และมีรูปภาพ เป็นองคฺ์ประกอบ
ถ้าเราอยากจะแก้ความห่างกาย แต่ไม่ห่างใจของสไลด์ ก็ทำได้ง่ายๆนะคะ เปิดคุณ powerpoint > format > line spacing แล้วปรับเปลี่ยนได้ตามใจฉันเลยค่ะ
ลองดูอีกซักแบบนะคะ
ggwp