ส่วนผสมที่ลงตัวในการทำสไลด์แบบมืออาชีพ ตอนที่ 1
ส่วนผสมต่างๆนี้ ก็สามารถสะท้อนบุคลิกหรือภาพลักษณ์องค์กรของคุณได้เช่นกัน ดังนั้นการเลือกใช้งานก็ควรเหมาะสมกับแต่ละโอกาสด้วย ถ้าเราสามารถทำสไลด์ได้น่าสนใจเท่ากับว่า มันจะกระตุ้นให้มุมมองของผู้ฟัง โฟกัสมาที่งานเรา ในทางกลับกับ หากคุณคิดว่าองค์ประกอบต่างๆ หรือ ส่วนผสมต่างๆ ไม่มีผลต่อการพูด เท่ากับว่าคุณเสียโอกาสที่อาจทำให้คนฟังของคุณ สามารถกระชากวิญญาณออกจากร่างได้ในทุกเวลา.... อ้าว จริงๆนะ ไม่ไปเฝ้าพระอินทร์ นั่งเล่นเกมส์ นั่ง chat ก็ให้มันรู้ไป ....อ้อ อย่าเพิ่งหมั่นไส้กันก่อนนะ เพราะเจ๊แซนจะพุ่งเป้าในเรื่อง มุมมองในการนำเสนอ ไม่ใช่ การพูดในที่ชุมชนอ่ะจ๊ะ จริงๆแล้ว มันต้องเอื้อทั้งสองส่วนล่ะ ทั้งคนทำสไลด์และ คนบรรยาย แต่เมื่อใดก็ตาม ที่ผู้บรรยายเลือกที่จะใช้สไลด์เป็นเครื่องมือนำเสนอ ต้องเข้าทางเจ๊ล่ะ แต่ถ้าผู้บรรยายเลือกที่จะใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการพูดเพียงอย่างเดียว .... เจ๊แซนก็ง่อยเปลี้ยไปเลยค๊าาาาา เรามาโม้กันต่อกับส่วนผสมตัวแรก ก็คือ ภาพพื้นหลัง [background]
background
คือ ฉากหลังของงานที่จะสามารถเนรมิตสไลด์ของเราให้ดูเด่น หรือ ดรอป ลงไปเลยก็ได้ สิ่งแรกที่เจ๊แซนขอบอกไว้ก่อนก็คือ เราควรหาทางเลี่ยงสไลด์ที่เป็น template สำเร็จรูป เพราะจะทำให้งานของเรากลายเป็นขยะไปโดยทันที ก่อนอื่นก็ต้องมาดูกลุ่มผู้ฟังเราก่อน รวมทั้งเนื้อหา ว่าเราต้องการจะสื่ออะไร จากนั้นสิ่งที่ตามมาต่อก็คือ สไลด์ของเราจะสื่อถึงภาพลักษณ์องค์กรเราอย่างไร ท้ายสุดก็คือ จุดประสงค์หลักของเรา อยากนำเสนอบริการและข้อมูลที่เรามี หรือจะทำสไลด์ให้มันจบๆไปแค่นั้นพอ ลองมาดูกันนะคะว่า เจ๊แซนเสนอเทคนิคอย่างไรบ้าง
โลโก้ [logo] : จำเป็นไม้ยคะ ที่ทุกสไลด์ต้องมีโลโก้มันทุกหน้า? จริงๆแล้ว กลุ่มคุณผู้ฟังของเรามักอยากรู้ข้อมูลพื้นฐานว่า ผู้บรรยายเป็นใคร ทำงานอะไร ดังนั้นในเรื่องของการใส่โลโก้ ที่สากลเค้านิยมทำกัน ให้เราวางมันไว้ที่หน้าแรก และหน้าสุดท้าย [bumper slides] เพื่อที่บ่งบอก หรือแสดงว่า เรามาจากบริษัทอะไร ในขณะเดียวกัน หากคุณโดนใบสั่งจากคุณบอสสส ให้เราต้องวางโลโก้ไว้มันทุกหน้า ทางออกที่จะแก้ไขไม่ให้นายคุณค้อนขวับ.... ก็คือ ให้เรานำมันไว้มุมล่างขวาสุด เพราะจะทำให้มุมมองภาพ ไม่ดูรกตา ... และเราจะได้รอดตัวไป
background ที่ดี ต้องไม่สมบูรณ์แบบ ... งง ล่ะสิ อธิบายง่ายๆก็คือ ถ้า backgound ของคุณมันช่างสวยงามโดยไม่สามารถใส่เนื้อหาเข้าไปได้เลย แสดงว่าคุณมาผิดหลักแล้ว backgound ที่ดีควรมีพื้นที่เว้นไว้ให้เนื้อหาดูเด่น เพราะถ้ามันเด่นกว่าเนื้อหา ข้อมูลที่ดีก็จะถูกมองผ่านไป เรามาลองดูตัวอย่างกันนะคะ
จากภาพ : พวก digital background template มักได้รับความนิยมกับมือทำสไลด์สมัครเล่น เพราะคิดว่ามันสวยดี แต่มันเหมาะสำหรับใช้ออกแบบสิ่งพิมพ์ เช่นการออกแบบแผ่นพับมากกว่า การนำมาทำสไลด์เพราะ ...
+ ภาพพื้นหลังดูเด่นมากกว่าเนื้อหา
+ พื้นที่ ที่จะใส่เนื้อหา ดูจำกัดเหลือเกิน เนี่ยะถ้าต้องเป็นแบบนี้ทุกๆหน้า อย่าว่าแต่คนฟังจะเบื่อเลย คนพูดก็เมื่อยปากละ
+ อย่าลืมว่า สไลด์ของเราอาจต้องใช้สนับสนุนการ บรรยาย ถ้าพื้นหลังลายตาขนาดนี้ นอกจากจะเปลืองหมึกแล้ว เนื้อหาก็แทบจะมองไม่เห็นท้ายสุดนี้ ก็จะเสียเวลาทั้งคนทำและคนพูด
ภาพพิ้นหลัง ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับการทาสีบ้าน ถ้าเราทาแบบมีลวดลายมากเกินไป หลังคาบ้าน หรือ หน้าต่าง บานประตู สนามหญ้าหน้าบ้าน ก็จะไม่เด่น มันก็จะไม่ครบองค์ประกอบ ดังนั้นเจ๊แซนจึงขอแนะนำให้เลือกสีพื้นหลังเหมือนไม่เลือก ก็คือให้ใช้ สีขาว ดำ หรือสีพื้นๆ เพื่อให้ดูสะอาดตาเข้าไว้ก่อน จำไว้เสมอว่า background ที่ดี ต้องเสริมให้องค์ประกอบต่างๆดูเด่น ไม่ใช่ให้ตัวเองเด่นมากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ
ยังไม่หมดนะคะ ยังมีทฤษฎีในเรื่องการทำสไลด์พร้อมเทคนิคอีกมายมาย แล้วเรามาต่อกันตอนต่อไป เจ๊แซนอยากจะบอกเหลือเกินว่า การทำสไลด์เป็นวิชาหนึ่ง หรือเป็นศาสตร์หนึ่งเหมือนวิชาอื่นทั่วไป คนทำสไลด์ได้ กับ คนทำสไลด์เป็น หรือ ทำได้ กับ ทำได้ดี มันแตกต่างกันจริงๆนะคะ ขอยกเอาคำของบอสเจ๊แซน ที่ทำให้เจ๊รู้สึกว่างานเจ๊มีคุณค่า ซึ่งก่อนหน้านี้ ทำเอาเจ๊ไม่กล้าปล่อยของ เพราะกลัว โรคอิจฉากำเริบ .... นายเจ๊บอกว่า "ทำงานแทบตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตกม้าตายเรื่องการนำเสนอ ดังนั้นการทำ presentation จึงค่อนข้างสำคัญ" ประโยคนี้แหละที่ทำให้เจ๊มีภูมิต้านทาน ต้องขอขอบคุณ "คุณบอล" บอสที่น่ารักของเจ๊แซนด้วยนะค๊า
โปรดรอตอนที่ 2 เดี๋ยวเจ๊แซนจะมาปล่อยของต่อ....
http://sandyslides.blogspot.com/
0 comments:
Post a Comment