เทคนิคงานนำเสนอ..สไตล์เจ๊แซน

มาลองทำสไลด์ [powerpoint] กันแบบหลุดกรอบกันบ้าง แต่ไม่ต้องหลุดโลกเหมือนเจ๊นะคะ [sandyslides by sandstyles]

slide & presentation

งานนำเสนอส่วนใหญ่มักจะมีรูปแบบเดิมๆจึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไม๊..ทำไมคนฟังถึงได้นั่งหลับ อยากจะนำเสนอได้อย่างเร้าใจต้องมาหัดทำสไลด์แบบเจ๊แซนรับรองว่าเข้าใจง่ายแน่นอน เจ๊แซนรับจ้างทำ งานนำเสนอ หรือ presentation ทั่วราชอาณาจักรด้วยนะคะไม่ว่าจะเป็นแบบส่งงานกับจารย์ งานวิจัย ขายของ อบรม แนะนำบริษัทฯ นำเสนอผลงานประจำปี หรือ โดนใบสั่งให้นำเสนองาน สนใจติดต่อ sandyslides@gmail.com ค่ะ

more about me..

เจ๊แซน เป็นสาวออฟฟิศที่ชอบไถงาน มีชีวิตแบบพอเพียง รักหมา ปากร้าย และสมาธิสั้น ชอบทำงานศิลปะ งานที่ทำมักจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลก่อนเสมอ จึงทำให้ได้บริหารสมองทั้งสองซีกจำเป็นต้องโกรกหงอกทุกเดือน ส่วนงานออกแบบการนำเสนอ หรือ powerpoint นั้นเป็นงานหนึ่งที่เจ๊ชอบเป็นอย่างยิ่ง มันท้าทายที่จะทำอย่างไรให้คนที่ดูสไลด์ของเจ๊แล้วไม่หลับ หวังไว้ว่าเทคนิคที่เจ๊นำมาแบ่งปันคงช่วยให้หลายคนทำสไลด์ได้สนุกขึ้นนะคะ

เชื่อไม้ยว่า powerpoint ทำให้ผู้บริหาร nasaไม่เชื่อว่ากระสวยอวกาศโคลัมเบียมีความเสี่ยงด้านเทคนิค

รอบนี้เจ๊แซนขอติดเรื่อง ส่วนผสมการทำสไลด์แบบมืออาชีพไว้ก่อนนะคะ พอดีเจ๊แซนได้ไปอ่านเจอบทความหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องเล่าในการทำงานนำเสนอแบบมืออาชีพ ว่ามัน "สำคัญ" อย่างไร ไม่แน่ใจอีกเหมือนกันว่า บอสเจ๊แซนเคยส่งบทความนี้มาให้อ่านเหมือนกัน แต่ได้แปลเป็นไทยเรียบร้อยแล้วนะคะ กลัวแฟนคลับของเจ๊แซนจะหลงคิดไปว่า "เจ๊นั่งทางใน...สถาปนาศาสตร์แขนงนี้ขึ้นมาเอง"  เลยเอามาแชร์กันค๊า

เรื่องเล่าเกี่ยวกับ การนำเสนอแบบมืออาชีพมาฝากค่ะ




เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2005 วอร์เร็น บัฟเฟ็ตต์ และบิลล์ เกตส์ ไปบรรยายให้นักศึกษาคณะ บริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยเนบราสก้าฟัง มีคำถามจากนักศึกษาคนหนึ่งถามว่า วอร์เร็นจะแนะนำอะไร สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาเข้าสู่โลกธุรกิจ พวกเขาควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ


วอร์เร็นตอบว่าการพูดในที่สาธารณะเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็น ถ้ามีทักษะการนำเสนอที่ดีมันก็จะ เป็นสินทรัพย์ หากไม่มีก็เสมือนเป็นหนี้สิน เพราะว่าทักษะนี้มันจะอยู่กับเราไปห้าหกสิบปีในชีวิตทำงาน สำหรับเขาแล้วเคยอบรมทักษะการพูดในที่สาธารณะของเดลคาร์เนกี้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1951 เมื่อทักษะนี้สำคัญ แต่ปรากฏว่าในโลกแห่งความเป็นจริงกับตรงกันข้าม


ในดีวีดีเรื่อง Conquering Death by PowerPoint ของ J. Douglas Jeffereys เขาได้แสดงสถิติที่น่า สนใจจากผลการสำรวจลูกค้าของเขาในช่วง มิ.ย. ค.ศ. 2001 ถึง ธ.ค. ค.ศ. 2004 พบว่า 60% ของ คนทั่วไปพบว่าการนำเสนอในทางธุรกิจน่าเบื่อ 34% บอกว่าทรมานที่ต้องนั่งฟัง มีเพียง 19% บอกว่า มีประสบการณ์การฟังการนำเสนอที่น่าสนุกและประทับใจ


จากหนังสือ Presenting to Win by Jerry Weissman มีการประมาณการว่าในแต่ละวันทั่วโลกมีการนำ เสนอโดยใช้ PowerPoint กว่า 30 ล้านครั้ง คิดดูว่าแต่ละวันมันเป็นความสูญเสียทางธุรกิจขนาดไหน หากการนำเสนอส่วนใหญ่เป็นอย่างที่สถิติบอกไว้ ที่จริงความเสียหายไม่ใช่แต่เพียงความน่าเบื่อหรือความทรมานจากการทนฟังการนำเสนอที่ไม่น่าสนใจเท่านั้น ความไม่ชำนาญในทักษะการจัดทำ PowerPoint อาจจะฆ่าคนตายได้


Edward Tufte ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและการนำเสนอ ซึ่งได้รับการยกย่องจาก New York Times ว่าเป็น “ลีโอนาร์โด ดาวินชี่ ทางด้านข้อมูล” ระบุว่าทักษะในการนำเสนอที่ไม่เก่งของวิศวกร จากองค์กรหนึ่งผนวกกับสไลด์ PowerPoint ที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูล ทำให้ผู้บริหาร NASA ไม่สามารถ เชื่อและเข้าใจว่ากระสวยอวกาศโคลัมเบียมีความเสี่ยงด้านเทคนิค ในที่สุดโคลัมเบียก็เกิดอุบัติเหตุขึ้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 เป็นเหตุให้ลูกเรือนักบินอวกาศทั้งเจ็ดคนต้องเสียชีวิต ทั้งนี้หาก วิศวกรจากบริษัที่ว่ามีทักษะในการนำเสนอที่ดีและสไลด์ที่สื่อความได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว โศกนาฏกรรมครั้งนั้นอาจจะไม่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่แล้วการนำเสนอทางธุรกิจมักจะพลาดท่าเสียทีอยู่สองเรื่องคือ ในตอนที่ออกแบบ หรือใน ตอนที่นำเสนอ ผมอยากแชร์ประสบการณ์ที่อาจจะช่วยทำให้การออกแบบทำได้ดีขึ้น


เวลาที่เราจัดเตรียมการนำเสนอนั้น เราควรตอบคำถามนี้ให้ได้ ผลลัพธ์สุดท้ายที่เราต้องการให้เกิดกับ ผู้ฟังการนำเสนอคืออะไร เราอยากให้เขาคิดอะไร หรือทำอะไรหลังจากการนำเสนอครั้งนี้ โดยทั่วไปการนำเสนอมีสามเป้าหมายใหญ่ๆคือ ทำให้คนเข้าใจในสิ่งที่เรานำเสนอ หรือทำให้เชื่อหรือ คล้อยตามในสิ่งที่เรานำเสนอ หรือทำให้ลงมือทำตามที่เรานำเสนอ


ตัวอย่างที่ดีคือภาพยนต์เรื่อง An Inconvenient Truth by Al Gorr อดีตรองประธานาธิบดีของอเมริกา ในหนังเขาเริ่มตั้งแต่การอธิบายให้เรื่องภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องง่ายๆโดยใช้สื่อที่น่าสนใจตั้งแต่กราฟฟิคไปจนถึงการ์ตูน หลังจากนั้น เขาก็ทำให้คนดูเชื่อและคล้อยตามด้วยข้อมูลและสถิติทาง วิทยาศาสตร์ ตลอดจนหลักฐานด้วยภาพและภาพยนต์ จนกระทั่งตอนจบเขาก็มีการ Call for actions โดยมีรายการกว่ายี่สิบข้อให้คนที่ชมภาพยนต์เรื่องนี้เลือกไปปฏิบัติ ที่น่าเสียใจคือว่านักธุรกิจอย่างพวกเราจำนวนมาก ตกม้าตายตั้งแต่การทำให้คนเข้าใจ มีข้อมูลที่เราควรตระหนักไว้ในการออกแบบการนำเสนอดังต่อไปนี้


จากหนังสือ Listening – The forgotten skill by Madelyn Burley- Allen เขาบอกว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ประสิทธิภาพในการฟังของคนทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 25%


ในหนังสือ Developing Effective Training by Tony Pont แนะนำไว้ว่า พยายามทำให้การนำเสนอ ของคุณสั้นเพียง 15-20 นาที เพราะว่านั่นเป็นระยะเวลาที่ฟังที่เป็นผู้ใหญ่(Adult)ทั่วไปสามารถจะรับ ฟังการนำเสนอได้ หากเกินกว่านั้น มักจะไม่สามารถดึงสมาธิของเขาไว้ได้


นอกจากนี้ David L. Sousa กล่าวไว้ในหนังสือ How the brain learn ว่า หลังการเรียนรู้ไปยี่สิบสี่ ชั่วโมง เราจะรักษาความรู้ได้เพียง 5% เท่านั้นหากเป็นการรับฟังการบรรยาย หากให้ระดมความคิด และทำงานกลุ่มจะขึ้นมาถึง 50% หากใช้วิธีลองฝึกฝนทักษะและความรู้นั้นจะเพิ่มขึ้นถึง 75% และ หากนำไปใช้งานทันที หรือนำไปสอนต่อ จะสูงถึง 90%


หากเราตระหนักถึงธรรมชาติของมนุษย์ในการสื่อสารแล้ว เราน่าจะออกแบบการสื่อสารได้ดีขึ้น อย่าง ที่ Ludwig Mies van Der Rohe (เกิด 27 มีนาคม ค.ศ. 1886 เสียชีวิต 17 สิงหาคม ค.ศ.1969) ซึ่ง เป็นสถาปนิกที่โด่งดังและได้รับการยกย่องว่าเป็น Modern Architecture กล่าวไว้ว่า More is Less หรือ ยิ่งให้มากคนยิ่งรับได้น้อย ดังนั้นเราต้องระมัดระวังอย่าอัดข้อมูลมากเกินไปในการนำเสนอ


มีคำแนะนำในการออกแบบลำดับของสไลด์ใน PowerPoint ดังนี้
  • จัดทำสไลด์ตามลำดับของเนื้อหา
  • เป็น Bullet point ไม่ใช่ Word point นี่เป็นข้อผิดพลาดใหญ่เลยสำหรับคนทั่วๆไป อย่าลืม ว่า PowerPoint ออกแบบมาเพื่อช่วยสื่อความ หากมีข้อมูลที่ต้องนำเสนอมากมายแบบกรณีกระสวยโคลัมเบีย อย่าอัดข้อมูลลงในสไลด์ ให้ แจกเป็นเอกสารประกอบที่เป็น Word Document หรือมีตารางข้อมูลโดยละเอียด ไม่ใช่นำไปยัดใส่ ในสไลด์ทั้งหมด
  • ในแต่ละ Bullet ควรจบในบรรทัดเดียวกัน ควรจะอยู่ระหว่างหกถึงแปดคำในภาษาอังกฤษ หรือ ไม่เกินสิบคำในภาษาไทย ให้นึกง่ายๆว่าเป็นการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยคที่ สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น “ปูนใหญ่โกอินเตอร์” “แอมเวย์ดับเบิ้ลยอดขายในห้าปี” ไม่ควรเกินหก Bullet ในแต่ละหน้า หรือไม่ควรเกินหกบรรทัดในแต่ละสไลด์
  • ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่
  • ใช้สีตัวอักษรตัดกับพื้น Background ของสไลด์
  • ใช้ภาพประกอบ อย่างที่สุภาษิตจีนบอกไว้ว่า ภาพหนึ่งภาพบอกได้มากกว่าหมื่นคำพูด
  • อย่าให้เทคนิคของ PowerPoint ขโมยซีน ผู้นำเสนอคือศูนย์กลางความสนใจไม่ใช่เทคนิคที่มากจนเกินพอดี
















    ค่อยยังชั่วหน่อย ที่มีที่มาที่ไปจะได้เอามาใช้สนับสนุนงานของเจ๊แซนซักหน่อย ช่วงนี้งานหลักเจ๊แซนยุ่งมากเหลือเกิน อาจมีเวลาเข้ามาโม้ได้นิดนึง ที่ติดกันไว้เอาไว้คราวหน้าจะมาโม้เต็มเหนี่ยวเลยนะค๊า แล้วเจอกันเน้อ!!!

    http://sandyslides.blogspot.com/




    ส่วนผสมที่ลงตัวในการทำสไลด์แบบมืออาชีพ ตอนที่ 2

    เจ๊แซน พร้อมปล่อยของต่อแล้วค่ะ หลังจากก่อนหน้าที่เราได้รู้เทคนิคของส่วนผสมแรก นั่นก็คือ ภาพพื้นหลัง (background) กันไปบ้างแล้ว ตอนนี้ เรามารู้จักกับส่วนผสมที่สอง ก็คือ เรื่องสี (color) ซึ่งก็เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้งานของคุณ บ่งบอกว่าเป็นคนเฉกเช่นใด พูดถึงเรื่องสี เจ๊ขอแอบเม้าส์น้องหน้าหยกที่ทำงานของเจ๊ ที่มีหน้าตาเป็นอาวุธ แค่เห็นหน้าก็แทบทำให้เจ๊ตกหลุมรักชนิดไม่อยากขึ้นจากหลุมเลย น้องคนนี้มีเรื่องฮาๆอยู่เหมือนกัน เพราะโดนเป็นมือวางทำ presentation เหมือนกัน ทุกอย่างดีหมด ไม่ว่าจะเป็นไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ แต่ดันตกม้าตาย ตรงที่ สีที่เลือกมาใช้กับงานนั้น เลือกสีได้ "เสี่ยว" จริงๆ ซึ่งคำว่า "เสี่ยว" นี้ บอสของเจ๊ได้ตั้งฉายาไว้ให้ ประมาณว่า "สวยของมรึง...คนเดียวสิ" ทำเอาเจ๊ต้องลุ้นทุกครั้งว่า งานมันรอบนี้จะออกมาอารมณ์ไหน ดังนั้น เรื่อง "สี" จึงมีผลในเรื่องอารมณ์ของงานเป็นอย่างมาก

    การเลือกโทนสี ก็มีผลเหมือนกัน ดังนั้น เราควรเลือกจาก กลุ่มคนฟัง ว่าเป็นกลุ่มไหน ถ้าเป็นน้องๆนักเรียนวัยใส อาจต้องมีสีสันที่สดใส ผู้บริหารก็ต้องโทนเรียบร้อย ดูดีมีสกุล กลุ่มคนฟังทั่วไป ควรใช้โทนสีสบายตา หรือ ถ้าจะไปนำเสนอกับคู่แข่ง ก็ต้องเน้นความหนักแน่น เข้มแข็ง ประมาณว่า "ทุบหม้อข้าวหม้อแกงกันไปเลย" โทนสีก็ต้องบ่งบอกความเป็นตัวคุณเอง หรือ ภาพลักษณ์องค์กรเราด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องระวังไว้นิดนึงตรงที่อย่าทะลึ่งไปเลือกสีของคู่แข่งมาใส่ในสไลด์คุณนะค๊า เช่น ถ้าคุณเป็นพวกเสื้อแดง อย่าตาบอดสีไปหยิบสีเหลืองมาแหยมเด็ดขาด หรือ ถ้าคุณพูดถึงเรื่องการเงิน สีแดงเป็นสีที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะหมายถึง ติดลบ ขาดทุน ประมาณนี้อ่ะค๊า





    จากรูป: หากสไลด์ของเรามีรูปภาพเป็นองค์ประกอบหลักๆ เราก็ควรเลือกโทนสีให้มีเฉดใกล้เคียงกับรูปภาพ สีที่ออกมาจะได้ดูกลมกลืน และจะได้ไม่ "เสี่ยวววววว" หุหุ

    การเลือกสี

    ก่อนที่คุณจะเลือกใช้สีนั้นก็ต้องมาดูกันก่อนว่า พื้นหลังของคุณใช้โทนสีอะไร ซึ่งสีที่นิยมกับการเลือกใช้บนจอ projector นั้น ก็คือ โทนสีขาวและดำ ซึ่งโทนสีก็ต้องตัดเฉดกับภาพพื้นหลังเช่นกันเพื่อให้สะดุดลูกตา แต่สีบางสีเวลาอยู่บนหน้าจอเรา มันแจ่มจริงๆ พอไปฉายลงเครื่องขยายภาพ "น้องเสี่ยว" ดีๆนี่เอง




    พื้นหลังโทนมืด: ดูเป็นทางการ, มีอิทธิพล แต่ ไม่เหมาะสำหรับทำเอกสารการบรรยาย และ ทำให้ลูกเล่นของการจัดแสงและเงาไม่โดดเด่น เหมาะสำหรับงานนำเสนอขนาดใหญ่ หรือถ้าองค์ประกอบ...หากหล่อนอยากจะโดดเด่น หล่อนต้องทำตัวเรืองแสงเข้าไว้ ทำตัวแววาว ต้องเล่นภาพนูนสามมิติ จะโดดเด่นมากค่ะ

    พื้นหลังโทนสว่าง: ดูไม่เป็นทางการ ให้ความรู้สึกโล่ง สบายตา ไม่กดดัน เหมาะกับงานนำเสนอขนาดเล็ก ในห้องประชุม และเหมาะสำหรับทำเอกสารประกอบการบรรยาย ไม่เหมาะกับองค์ประกอบลักษณะสามมิติ

    เราลองมาดูตัวอย่างงานกันนะคะ งานนี้เจ๊ขอยกงานของบริษัท buzzagent  ซึ่งมี brand ที่โดดเด่นโดยใช้โทนสีจำกัด คือ สีเขียว เหลือง ดำ แดง และ ฟ้าอ่อน  ดังนั้นสไลด์ที่ออกมา โจทย์ต้องใช้สีโทนนี้ รวมทั้งเราต้องเลือก รูป และทำกราฟฟิคโทนนี้ เพื่อบ่งบอกถึงองค์กร และ เพื่อความต่อเนื่อง

     















    พอจะเข้าใจหลักในการใช้สีกับงานนำเสนอของเราบ้างหรือยังคะ  เจ๊แซนว่าไม่ต้องกลุ้มถ้าไม่รู้จักทฤษฎีวงล้อสี แค่หัดสังเกตุสิ่งรอบตัวว่าควรหรือไม่ควรใช้ก็พอจะ get กันได้แล้ว ถ้างานของเรา นำเสนอตัวตนของเรา ก็สามารถเลือกสีได้ตามใจฉัน จะเสี่ยวปานไหนก็มันส์พะย่ะค่ะไปเลยค่ะ แต่ถ้าเราต้องนำเสนอภาพลักษณ์องค์กรของเราละก็ อย่าทะลึ่งไปเลือกสีที่เราคิดว่ามันสวยเด็ดขาดเพราะนอกจากคุณจะสอบตกเรื่องไม่เข้าใจ brand ของบริษัทคุณเองแล้ว คุณจะเป็น "เสี่ยว...ตัวพ่อ ตัวแม่" เลยทีเดียวล่ะ ความเป็นมืออาชีพ ไม่จำเป็นต้องทำสวย แค่คุณจัดวางองค์ประกอบ เลือกสีเลือกภาพ เลือกแบบอักษรให้มันกลมกลืนกัน ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วค่ะ   เอาไว้เจ๊หาเวลาปลีกตัวจากงานประจำ จะมาโม้ต่อใน ตอนที่ 3 เรื่องของ แบบอักษร กันนะคะ ขอไปทำงานหลักก่อนนะค๊า แล้วเจอกันใหม่.....










    ส่วนผสมที่ลงตัวในการทำสไลด์แบบมืออาชีพ ตอนที่ 1

    ก่อนหน้านี้เราพอจะรู้พื้นฐานองค์ประกอบต่างๆในการทำสไลด์โดยคร่าวๆมาบ้างแล้ว ทีนี้เจ๊แซนจะมาลงรายละเอียดของแต่ละส่วนประกอบ เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นไปอีก เจ้าส่วนผสมทั้ง 4 ที่เจ๊แซนเกริ่นๆในตอนที่แล้ว ประกอบด้วย ภาพพื้นหลัง + สี + ตัวอักษร + รูปภาพ ซึ่งมันจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าสไลด์ของเราเน้นหนักไปทางไหน และ เราจะเลือกหนักเครื่องไปในเรื่องใด โดยหลักการแล้ว ก็ไม่หนีไปจากนี้แน่นอนค่ะ

    ส่วนผสมต่างๆนี้ ก็สามารถสะท้อนบุคลิกหรือภาพลักษณ์องค์กรของคุณได้เช่นกัน ดังนั้นการเลือกใช้งานก็ควรเหมาะสมกับแต่ละโอกาสด้วย ถ้าเราสามารถทำสไลด์ได้น่าสนใจเท่ากับว่า มันจะกระตุ้นให้มุมมองของผู้ฟัง โฟกัสมาที่งานเรา ในทางกลับกับ หากคุณคิดว่าองค์ประกอบต่างๆ หรือ ส่วนผสมต่างๆ ไม่มีผลต่อการพูด เท่ากับว่าคุณเสียโอกาสที่อาจทำให้คนฟังของคุณ สามารถกระชากวิญญาณออกจากร่างได้ในทุกเวลา.... อ้าว จริงๆนะ ไม่ไปเฝ้าพระอินทร์ นั่งเล่นเกมส์ นั่ง chat ก็ให้มันรู้ไป ....อ้อ อย่าเพิ่งหมั่นไส้กันก่อนนะ เพราะเจ๊แซนจะพุ่งเป้าในเรื่อง มุมมองในการนำเสนอ ไม่ใช่ การพูดในที่ชุมชนอ่ะจ๊ะ จริงๆแล้ว มันต้องเอื้อทั้งสองส่วนล่ะ ทั้งคนทำสไลด์และ คนบรรยาย แต่เมื่อใดก็ตาม ที่ผู้บรรยายเลือกที่จะใช้สไลด์เป็นเครื่องมือนำเสนอ ต้องเข้าทางเจ๊ล่ะ แต่ถ้าผู้บรรยายเลือกที่จะใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการพูดเพียงอย่างเดียว .... เจ๊แซนก็ง่อยเปลี้ยไปเลยค๊าาาาา เรามาโม้กันต่อกับส่วนผสมตัวแรก ก็คือ ภาพพื้นหลัง [background]

    background

    คือ ฉากหลังของงานที่จะสามารถเนรมิตสไลด์ของเราให้ดูเด่น หรือ ดรอป ลงไปเลยก็ได้ สิ่งแรกที่เจ๊แซนขอบอกไว้ก่อนก็คือ เราควรหาทางเลี่ยงสไลด์ที่เป็น template สำเร็จรูป เพราะจะทำให้งานของเรากลายเป็นขยะไปโดยทันที  ก่อนอื่นก็ต้องมาดูกลุ่มผู้ฟังเราก่อน รวมทั้งเนื้อหา ว่าเราต้องการจะสื่ออะไร จากนั้นสิ่งที่ตามมาต่อก็คือ สไลด์ของเราจะสื่อถึงภาพลักษณ์องค์กรเราอย่างไร ท้ายสุดก็คือ จุดประสงค์หลักของเรา อยากนำเสนอบริการและข้อมูลที่เรามี หรือจะทำสไลด์ให้มันจบๆไปแค่นั้นพอ ลองมาดูกันนะคะว่า เจ๊แซนเสนอเทคนิคอย่างไรบ้าง

    โลโก้ [logo] : จำเป็นไม้ยคะ ที่ทุกสไลด์ต้องมีโลโก้มันทุกหน้า?  จริงๆแล้ว กลุ่มคุณผู้ฟังของเรามักอยากรู้ข้อมูลพื้นฐานว่า ผู้บรรยายเป็นใคร ทำงานอะไร ดังนั้นในเรื่องของการใส่โลโก้ ที่สากลเค้านิยมทำกัน ให้เราวางมันไว้ที่หน้าแรก และหน้าสุดท้าย [bumper slides] เพื่อที่บ่งบอก หรือแสดงว่า เรามาจากบริษัทอะไร  ในขณะเดียวกัน หากคุณโดนใบสั่งจากคุณบอสสส ให้เราต้องวางโลโก้ไว้มันทุกหน้า ทางออกที่จะแก้ไขไม่ให้นายคุณค้อนขวับ.... ก็คือ ให้เรานำมันไว้มุมล่างขวาสุด เพราะจะทำให้มุมมองภาพ ไม่ดูรกตา ... และเราจะได้รอดตัวไป

    background ที่ดี ต้องไม่สมบูรณ์แบบ ... งง ล่ะสิ อธิบายง่ายๆก็คือ ถ้า backgound ของคุณมันช่างสวยงามโดยไม่สามารถใส่เนื้อหาเข้าไปได้เลย แสดงว่าคุณมาผิดหลักแล้ว backgound ที่ดีควรมีพื้นที่เว้นไว้ให้เนื้อหาดูเด่น เพราะถ้ามันเด่นกว่าเนื้อหา ข้อมูลที่ดีก็จะถูกมองผ่านไป เรามาลองดูตัวอย่างกันนะคะ


    จากภาพ : พวก digital background template มักได้รับความนิยมกับมือทำสไลด์สมัครเล่น เพราะคิดว่ามันสวยดี แต่มันเหมาะสำหรับใช้ออกแบบสิ่งพิมพ์ เช่นการออกแบบแผ่นพับมากกว่า การนำมาทำสไลด์เพราะ ...

    + ภาพพื้นหลังดูเด่นมากกว่าเนื้อหา
    +  พื้นที่ ที่จะใส่เนื้อหา ดูจำกัดเหลือเกิน เนี่ยะถ้าต้องเป็นแบบนี้ทุกๆหน้า อย่าว่าแต่คนฟังจะเบื่อเลย คนพูดก็เมื่อยปากละ
    + อย่าลืมว่า สไลด์ของเราอาจต้องใช้สนับสนุนการ บรรยาย ถ้าพื้นหลังลายตาขนาดนี้ นอกจากจะเปลืองหมึกแล้ว เนื้อหาก็แทบจะมองไม่เห็นท้ายสุดนี้ ก็จะเสียเวลาทั้งคนทำและคนพูด


    ภาพพิ้นหลัง ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับการทาสีบ้าน ถ้าเราทาแบบมีลวดลายมากเกินไป หลังคาบ้าน หรือ หน้าต่าง บานประตู สนามหญ้าหน้าบ้าน ก็จะไม่เด่น มันก็จะไม่ครบองค์ประกอบ ดังนั้นเจ๊แซนจึงขอแนะนำให้เลือกสีพื้นหลังเหมือนไม่เลือก ก็คือให้ใช้ สีขาว ดำ หรือสีพื้นๆ เพื่อให้ดูสะอาดตาเข้าไว้ก่อน จำไว้เสมอว่า background ที่ดี ต้องเสริมให้องค์ประกอบต่างๆดูเด่น ไม่ใช่ให้ตัวเองเด่นมากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ

    ยังไม่หมดนะคะ ยังมีทฤษฎีในเรื่องการทำสไลด์พร้อมเทคนิคอีกมายมาย แล้วเรามาต่อกันตอนต่อไป เจ๊แซนอยากจะบอกเหลือเกินว่า การทำสไลด์เป็นวิชาหนึ่ง หรือเป็นศาสตร์หนึ่งเหมือนวิชาอื่นทั่วไป คนทำสไลด์ได้ กับ คนทำสไลด์เป็น หรือ ทำได้ กับ ทำได้ดี มันแตกต่างกันจริงๆนะคะ ขอยกเอาคำของบอสเจ๊แซน ที่ทำให้เจ๊รู้สึกว่างานเจ๊มีคุณค่า ซึ่งก่อนหน้านี้ ทำเอาเจ๊ไม่กล้าปล่อยของ เพราะกลัว โรคอิจฉากำเริบ .... นายเจ๊บอกว่า "ทำงานแทบตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตกม้าตายเรื่องการนำเสนอ ดังนั้นการทำ presentation จึงค่อนข้างสำคัญ" ประโยคนี้แหละที่ทำให้เจ๊มีภูมิต้านทาน ต้องขอขอบคุณ "คุณบอล" บอสที่น่ารักของเจ๊แซนด้วยนะค๊า

    โปรดรอตอนที่ 2 เดี๋ยวเจ๊แซนจะมาปล่อยของต่อ....

    http://sandyslides.blogspot.com/

    เทคนิคในการเลือก font สำหรับงานนำเสนอ

    ตามสัญญา วันนี้เจ๊แซนจะมาแนะเทคนิคในการเลือกแบบ font สำหรับงานนำเสนอ ซึ่งจากประสบการณ์ของเจ๊เองมักพบว่าคนทำสไลด์หลายๆคนมักไม่ค่อยให้ความสำคัญหรือมักมองข้ามอยู่เสมอๆ เจ๊เองพวกชอบแหกกฎ อย่างเช่น บริษัทฯเจ๊เอง ตั้งโจทย์ไว้เลยว่า ทุกๆสไลด์ต้องเป็นแบบอักษร tahoma เท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วมันก็ดีนะ แต่เจ๊เองมักแอบเห็นแผนกที่ล๊อคสเป๊คว่า แบรนด์ต้องเป๊ะอย่างโน้น อย่างนี้ ให้คนในบริษัทฯทำเป็นแบบเดียวกันเด๊ะ แต่พอของตัวเอง ไม่ได้มีกฎอย่างว่าเลย ไม่ใช้ template ที่ให้มา ไม่มีโลโก้ ไม่ใช่ font tahoma ....อ้าว กฎก็ไว้แหกอ่ะสิ แต่ก็ไม่หลุดจนเกินพอดี ดังนั้นเจ๊เองมักจะใช้ font ตามงานที่ได้โจทย์มา ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างไร อิอิ

    เมื่อพูดถึงองค์ประกอบของสไลด์แต่ละหน้า จะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ
    1. ภาพพื้นหลัง : background
    2. ตัวอักษร : font
    3. สี: color
    4. รูปภาพประกอบ : image
    สไลด์จะออกมาดูดี ก็ขึ้นอยู่กับส่วนผสมทั้ง 4 ชนิดนี้ เพียงแต่เราจะเน้นหนักไปทางไหน ก็ต้องว่ากันอีกที ไหนๆวันนี้เจ๊จะมาเล่าเรื่อง font งั้นอีกสามส่วนที่เหลือ ขอติดไว้ก่อนนะคะ

    แบบอักษรที่นิยมในการทำสไลด์ มักมีนิสัยบ่งชี้ให้เห็นถึงบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน และตัวอย่างที่เจ๊แซนนำมาให้ดูนี้ได้รับความนิยมจากบริษัทฯยักษ์ๆที่นำเสนอในเวทีใหญ่ๆหลายๆเวที มาดูกันเลยดีกว่า


    baskervile :  ให้ความรู้สึกสุภาพ ดูภูมิฐาน สไตล์ผู้ดีมีชาติตระกูล ดูเรียบๆไม่หวือหวา
    bodoni: ดูโก้เก๋ ออกแนวคลาสสิค แต่ก็ให้ความรู้สึกทันสมัยอยู่นิดๆ
    caslon: ดูเป็นผู้ดี เป็นทางการ แข็งๆแต่ก็แฝงความนุ่มนวล
    franklin gothic : เป็นแบบดั้งเดิมของ ตระกูล sans serif นิยมใช้กับป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ หรือชิ้นงานขนาดใหญ่
    frutiger: ดูอ่านง่าย สบายตา สะอาดตา
    futura: เป็นแบบ sans serif ที่ดูทันสมัย อ่านง่าย ให้ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง
    garamond: ผู้ดีเก่า ดูแก่มีอายุเหมือนจะถูกขังให้ต้องอยู่ในกรอบ รู้สึกน่าอึดอัด
    helvetica: ดูเรียบ เก๋ ไม่น่าเบื่อ ร่วมสมัย
    optima: ดูสะอาด เท่ห์ แฝงความอบอุ่น
    rockwell: ดูมั่นๆ หนักแน่น ชัดเจน

    ตัวอย่างข้างต้น จะเป็นตระกูลที่นิยมใช้ ซึ่งอาจจะเข้าใจยากหน่อยนะคะ บางคนดูแล้วอาจเห็นว่ามันก็ไม่เห็นต่างกันยังไง แต่ศาสตร์พวกนี้มันละเอียดอ่อน แค่เข้าใจถึงบุคลิกของเค้าเราก็จะสามารถนำไปประยุกต์ในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาได้อย่างแน่นอน เคยสงสัยไม้ยคะว่า ทำไมต้องมีแบบอักษรของ sans sarif เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอๆ จริงๆแล้วนั้นลักษณะของ sans sarif ถูกคิดค้นมาหรือ ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวเยอรมันนี ประมาณต้นๆของปี 1900 ซึ่งเป็นลายเส้นที่อ่านง่ายและแสดงผลได้ดีบนจอคอมพิวเตอร์ของเรา จึงไม่แปลกใจเลยว่า เจ๊นิยมใช้ font ตระกูลนี้ในการนำเสนอ เพราะนอกจากคุณภาพลายเส้นจะดูดีเวลายิงออกหน้า เครื่องขยายภาพแล้ว เส้นอักษรยังดูคมชัดอีกด้วย

    เจ๊แซนฝากไว้นิดนึง การเลือกตัวอักษรวัยรุ่นหลากหลายสไตล์ เช่น ลักษณะตัวอักษรที่เหมือนลายมือ หรืออักษรแฟชั่นทั้งหลาย เจ๊ขอห้ามในการเลือกมาทำสไลด์เด็ดขาด เพราะเจ้าตัวอักษรที่ว่านี้ เหมาะสำหรับงานพิมพ์เอกสารไม่ไม่เหมาะในการนำมาอยู่บนจอนำเสนอ นอกจากจะทำให้คุณดูไม่มีทักษะในการทำแล้ว ความน่าเชื่อถือของงานคุณก็จะดูด้อยค่าลงไปอีกด้วย

    เรื่องของ font ยังไม่หมดแค่นี้ ครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่ององค์ประกอบ หรือ ส่วนผสมที่ลงตัวของการทำสไลด์ ทีนี้เราจะลงรายละเอียดในแต่ละเรื่อง รับรองว่าถ้าหมั่นฝึกฝนบ่อยๆ รวมทั้งจำเทคนิคต่างๆนำไปใช้ คุณก็จะสามารถทำงานนำเสนอได้ไม่แพ้มืออาชีพแน่นอนค่ะ

    http://sandyslides.blogspot.com/

    เรื่องตัวอักษร [letters] กับงานนำเสนอ

    การทำ presentation หรือ งานนำเสนอ มีรูปสวยอย่างเดียวคงสื่อความหมายได้ไม่ครบวงจรเท่าไหร่นัก หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดๆ รูปคือ"ไอ้ขวัญ" ส่วนตัวอักษร ก็คือ "อีเรียม" นั่นเอง ส่วนเจ๊แซนเอง ก็เหมือน "ไอ้ทุย" ที่ทำให้ฉากท้องนากับไอ้วัญ กับ อีเรียม ดูมีชีวิตชีวา..ทันตาเห็น

    การเลือกแบบอักษร หรือ font ก็มีเทคนิคเหมือนกัน แต่เจ๊ไว้แชร์ตอนหน้าแล้วกันเนอะเพราะเรื่องมันยาว ตอนนี้เรามาพูดถึงการเลือกขนาดตัวอักษร ว่าถ้าเลือกผิด ใหญ่มาก หรือ เล็กมาก, ชิด หรือ ห่าง มีผลต่อการออกแบบงานนำเสนอของเราอย่างไร

    ถ้าคุณคิดจะเพิ่ม หรือ ขยายขนาดตัวอักษร ต้องจำไว้เสมอว่า ระยะห่างระหว่างบรรทัดจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งช่องว่างระหว่างแถวเราจะรู้จักกันดี คือ "ระยะบรรทัด" [leading] ซึ่งหากมีระยะห่างมากหรือน้อยเกินไป อาจทำให้มุมมองของผู้ฟัง รู้สึกว่า อ่านยากและสร้างบรรยากาศน่าเบื่อในการนำเสนอพ่วงเข้าไปด้วย

    ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระยะบรรทัดจะถูกเซ็ตเป็นค่ามาตรฐานคิดเป็นประมาณ 20% ของขนาดตัวอักษรที่เราเลือกใช้ ประมาณว่า ถ้าขนาดตัวอักษรที่คุณเลือกใช้ ขนาด 20pt, ดังนั้น ระยะบรรทัดจะประมาณ 14pt-15pt ซึ่งเป็นขนาดกำลัง "สวยพอดีๆ" ถ้าเป็นงานพิมพ์เอกสารทั่วไป แต่ในงานนำเสนอ ถ้าคุณขยายหรือเพิ่มขนาดตัวอักษรมากเท่าไร ระยะห่างของบรรทัดก็จะเพิ่มเป็นอีกเท่าตัว ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างกัน จะได้ร้อง "อ๋อ...มันเป็นอย่างนี้นี่เองเหรอเจ๊..."

















    แบบที่ 1 : ระยะห่างของบรรทัดในสไลด์นี้ บ้านเจ๊เรียกว่า "เว่อร์" มากทีเดียว "ยัติภังค์" หรือ "bullet" ห่างจากหัวเรื่องเหมือนอยู่คนละแคว้น ซึ่งลักษณะแบบนี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำใน powerpoint เพราะค่าถูกเซ็ตอัติโนมัติ ทำให้สไลด์นี้ จะมีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ โดย 6 องค์ประกอบ คือตัวอักษรแต่ละบรรทัด และ อีก 1 องค์ประกอบก็คือรูปภาพ

















    แบบที่ 2: ระยะห่างของสไลด์นี้ก็ชิดติดกัน เบียดกัน แทบจะเกยกันจนจะได้เสียกันอยู่แล้ว ซึ่งทำให้อ่านยาก...ม๊าก มาก โดยเฉพาะผู้ฟังที่นั่งอยู่หลังห้อง


















    แบบที่ 3: ระยะห่างของสไลด์นี้ดูโอเค แต่ก็ไม่ถึงกับพอดีมาก แต่ก็ทำให้เห็นเด่นชัด แยกแยะได้ว่า มีหัวเรื่อง ตามด้วย เนื้อหา และมีรูปภาพ เป็นองคฺ์ประกอบ

    ถ้าเราอยากจะแก้ความห่างกาย แต่ไม่ห่างใจของสไลด์ ก็ทำได้ง่ายๆนะคะ เปิดคุณ powerpoint > format > line spacing แล้วปรับเปลี่ยนได้ตามใจฉันเลยค่ะ

    ลองดูอีกซักแบบนะคะ



    สไลด์บน: ระยะบรรทัดห่างไป  แต่ สไลด์ล่าง: ดูดีกว่าใช่ป่ะ

    เจ๊แซนว่า คงจะเริ่มเข้าใจถึงเรื่องระยะห่างของบรรทัดได้พอสมควร ว่ามันมีผลต่อการออกแบบของเราอย่างไร คราวหน้าเราจะมารู้เทคนิคในการเลือก font อย่างไรให้เหมาะกับเรื่องที่เราจะนำเสนอ ใครมีอะไรอยากให้เจ๊แชร์เทคนิค ก็เม้นท์กันเข้ามานะจ๊ะ

    รับจ้างทำ Powerpoint แบบมืออาชีพสไตล์เจ๊แซน

    เจ๊แซนรับจ้างทำ presentation แบบมืออาชีพ รับรองด้วยประสบการณ์ในการทำงานนำเสนอมากกว่าสิบปี เหมาะสำหรับใช้ในโอกาสต่างๆ เช่น ส่งงานอาจารย์ งานเสนอขายสินค้าและบริการ ทำ profile บริษัท หรือใช้เป็นสื่อสำหรับการอบรม รวมทั้งหากต้องการนำเสนอผลงานวิชาการอย่างมืออาชีพ ต้องไม่พลาดเรียกใช้เจ๊เด็ดขาด

    สามารถเข้าชมตัวอย่างงานและเทคนิคการทำสไลด์ได้ที่ http://sandyslides.blogspot.com ค่ะ

















    เน้นการออกแบบ โดยใช้ทฤษฎี information design ซึ่งเป็นรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ และ ง่ายต่อกลุ่มผู้ฟัง ดังนั้นหากคุณต้องการผลงานที่ทันสมัย โดนกลุ่มคนฟัง เรียกหาเจ๊แซนได้ใน but nowwwww

    รูปแบบการคิดค่าเหนื่อย

    แบบแรก : มีข้อมูลมาให้แล้ว เจ๊แค่ออกแบบข้อมูลนำเสนอโดยมีการจัดวางงาน ใช้รูปประกอบ ใช้สี หาตัวอักษรให้มีความรู้สึกเข้าใจง่าย และดูเป็นมืออาชีพ

    แบบสอง : คนจ้างเหนื่อยน้อยหน่อย คือให้โจทย์มาว่าต้องการอะไร แต่ต้องตีกรอบว่าข้อมูลประมาณไหน เพื่อให้เจ๊เข้าไปล้วงข้อมูล เพื่อมาผลิตงาน อันนี้เหมาะสำหรับลูกค้ากระเป๋าหนัก หรือไม่หนักแต่ต่อรองเก่งก้อได้ ถ้าทำให้เจ๊ใจอ่อนได้ก็โชคดีไป งานนี้ถ้าเป็นภาษาไทยราคาจะถูกกว่าภาษาอังกฤษ เพราะถ้าเป็นภาษาอังกฤษ เจ๊บวกค่าแปลไปด้วย

    คิดตามความยากง่ายของงาน เจ๊แซนจะบวกเพิ่มเป็นกรณีพิเศษไป งานของเจ๊จะใช้รูปประกอบคุณภาพคงามละเอียดสูง รวมทั้ง flow & framework ที่ผ่านการออกแบบที่ดี บางงานอาจคิดราคาเหมาๆ หลายหน้าอาจลดราคาตามความเหมาะสม

    ปล. รูปแบบผลงานของเจ๊แซน ใช้หลักการเดียวกัวกับการนำเสนอรูปแบบสากลของบริษัทชั้นนำทั่วไป เช่น apple, microsoft, hp, cisco, adobe, salesforce และอื่นๆ

    ถ้าคุณต้องการความเป็นมืออาชีพ และความเนี๊ยบ ... มามะ มาเป็นลูกค้าเจ๊ซะดีๆ

    http://sandyslides.blogspot.com/
    sandyslides@gmail.com

    Information Design คืออะไร

    information design คืออะไร

    คือทักษะ ในการจัดเตรียมข้อมูลต่างๆเพื่อออกแบบ และนำเสนอให้ทุกคนนำไปใช้งานได้ง่าย และเกิดประสิทธิภาพ


    มันเป็นศาสตร์ หรือ ศิลปะแขนงหนึ่งที่จริงๆแล้ว ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1970 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เจ๊แซนเองเพิ่งจะหันมาใช้เวลาศึกษากับเจ้านี่ได้ระยะหนึ่ง แล้วเพิ่งจะค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตัวเองว่า "มันช่างเป็นเนื้อคู่ ที่เพิ่งจะหากันเจอ" เลยทีเดียว มันเป็นศิลปะที่ไม่ได้ใช้แต่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกที่เน้นเพียงความสวยงาม แต่เสน่ห์ของเจ้านี่ ก็คือ การปั้นความคิด และลงมือสร้าง โดยใช้ทักษะตั้งแต่ การวิเคราะห์ การจับประเด็น การเรียบเรียง และ การออกแบบ ดังนั้นมันจึงเป็นงานที่สนุกงานหนึ่ง ที่ท้าทายเจ๊แซนจริงๆ


    ความยากของมัน คือ เราจะทำยังไงกับข้อมูลที่มีมากมาย และจะหยิบอะไรมาเล่นดี ข่มขืนสมองแค่นี้ยังไม่หนำใจ ความซาดิสต์ของมันอีกรอบก็คือ จะออกแบบอย่างไรที่สื่อถึงคนดูให้เข้าใจได้ง่าย แหม... ชอบ ชอบ ชอบ


    ตลาดของ information design ในบ้านเรา เห็นได้ตาม company profile ของบริษัทที่เน้นภาพลักษณ์องค์กรเป็นหลัก หรือ อยู่ในตลาดติสท์แตก พวกวงการโฆษณาหรือการตลาดเป็นต้น หากจะพูดถึงตลาดเมืองนอกเราจะเห็นงานพวกนี้ได้จาก Apple, Adobe, HP, CISCO ที่เน้นการออกแบบเพื่อสื่อถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ไม่ยากที่จะสัมผัส


    ง่วงนอนพอดี แล้วเจ๊จะมาโม้ต่อนะคะ